บทที่ 4 สื่อกลางในการส่งข้อมูล

เทคโนโลยีรับส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยีการรับ-ส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้เป็น

2 ประเภท ดังนี้

4.1 เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย

เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย แบ่งออกตามชนิดของสายสื่อสารได้

3 ชนิดคือ

1) สายตีเกลียวคู่ หรือสายคู่บิดเกลียว (twisted pair cable) ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดง 2 เส้นบิดกันเป็นเกลียว เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากสายข้างเคียงกันหรือจากภายนอก โดยทั่วไปใช้ส่งข้อมูลดิจิทัล ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลอยู่ที่ 100เมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางไม่เกิน 100เมตร เนื่องจากมีราคาไม่แพงมาก จึงมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง สายตีเกลียวคู่แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ


1.1 สายตีเกลียวคู่แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวนหรือชนิดไม่หุ้มฉนวน (un-shielded twisted pair : utp) ป็นสายชนิดที่ไม่มีฉนวนหุ้มสาย ทำให้สะดวกในการโค้งงอ และราคาถูก

1.2 สายตีเกลียวคู่แบบป้องกันสัญญาณรบกวนหรือชนิดหุ้มฉนวน (shielded twisted pair : stp)เป็นสายชนิดที่มีฉนวนหุ้มสาย รองรับความถี่ได้มากกว่าสายแบบไม่มีฉนวนหุ้ม แต่มีราคาแพงกว่า

2) สายโคแอกซ์ (coaxial cable) เป็นสายลักษณะเดียวกับสายที่ต่อมาจากเสาอากาศ ประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหุ้มฉนวนชั้นหนึ่ง สายโคแอกช์ทั่วไปมี 2 ชนิดคือ 50 โอห์ม ซึ่งจะใช้ส่งข้อมูลสัญญาณดิจิทัล และชนิด75 โอห์ม ซึ่งส่งสัญญาณข้อมูลอนาล็อก


3) สายใยแก้วนำแสง (fiber optic cable) หรือเส้นใยนำแสง แกนกลางของสายประกอบด้วยเส้นใยแก้วหรือเส้นพลาสติกขนาดเล็กภายในกลวงจำนวนมาก เส้นใยแต่ละเส้นจะมีเส้นใยอีกเส้นห่อหุ้ม การส่งผ่านข้อมูลจะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านช่องกลวงของเส้นใยแต่ละเส้น และอาศัยการหักเหของแสง โดยใช้เส้นใยชั้นนอกเป็นตัวสะท้อนแสง สามารถส่งผ่านข้อมูลได้สูงมาก ไม่มีการก่อกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ข้อเสียของสายชนิดนี้คือ เมื่อสายมีการบิดงอจะมีปัญหาในการส่งผ่านข้อมูล


4.2 เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย

เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย อาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อกลางนำสัญญาณ ซึ่งสามารถแบ่งความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ 4 ชนิด ดังนี้

1) อินฟราเรด (infrared) เป็นคลื่นที่ใช้ส่งข้อมูลระยะใกล้มากๆ ในช่วงความถี่ที่แคบมากๆ ใช้ช่องทางสื่อสารน้อย การสื่อสารข้อมูลเป็นในแนวตรง ไม่ควรมีสิ่งกีดขวางระหว่างตัวส่งและตัวรับสัญญาณ ระยะทางไม่เกิน 1-2 เมตร ความเร็วประมาณ 4-16 เมกกะบิตต่อนาที เช่น การส่งสัญญาณจากรีโมทคอนโทรลไปยังโทรทัศน์

2) คลื่นวิทยุ (radio frequency) โดยใช้ตัวกระจายสัญญาณส่งไปในอากาศ และมีตัวรับสัญญาณ จะเป็นคลื่นวิทยุในช่วงความถี่ต่างๆ กัน มีความเร็วต่ำประมาณ 2 เมกกะบิตต่อนาที เช่น การสื่อสารในระบบวิทยุเอฟเอ็ม เอเอ็ม, การสื่อสารโดยใช้ระบบไร้สาย (Wi-Fi)


3) ไมโครเวฟ (microwave) จะมีสถานีส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปตามอากาศ พร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง จะมีสถานีรับ-ส่งข้อมูลเป็นระยะๆ ส่งต่อข้อมูลกันเป็นทอดๆ ระหว่างสถานีต่อสถานี จนกว่าจะถึงสถานีปลายทาง เนื่องจากคลื่นไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงไม่สามารถเลี้ยวโค้งได้ สถานีรับ-ส่งข้อมูลมักจะอยู่ในที่สูง เช่น ดาดฟ้าอาคาร, ยอดเขา, เพื่อหลีกเลี่ยงการชนสิ่งกีดขวาง



4) ดาวเทียม (satellite) เป็นสถานีรับส่งสัญญาณไมโครเวฟบนท้องฟ้า ซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของสถานีรับ-ส่งไมโครเวฟบนพื้นโลก


5) บลูธูท (bluetooth) โพรโทคอลที่ใช้คลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz ในการรับสั่งข้อมูล คล้ายกับระบบแลนไร้สาย เพื่อให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ต่อพ่วงไร้สาย เช่น เครื่องพิมพ์ เมาส์ คีย์บอร์ด โทรศัพท์เคลื่อนที่ หูฟัง เป็นต้น

ปัจจุบันมีโพรโทคอลอีกมากมายนอกจากที่กล่าวมาข้างต้น เช่น การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน (file transfer protocol : ftp), การโอนย้ายข่าวสารระหว่างกันใช้โพรโทคอลเอ็นเอ็นทีพี (network news transfer protocol : nntp) เป็นต้น


ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ